การตัดสินในกีฬาฟุตบอล โดยเฉพาะในสนามนั้นจะเป็นการตัดสินโดยผู้ตัดสิน แต่จุดประสงค์ของวีเออาร์คือการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและช่วยกระบวนการตัดสินใจอย่างยุติธรรมโดยเสนอมุมมองการเล่นที่หลากหลายด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน

ในขณะที่การมาถึงของวีเออาร์นั้นได้รับการต้อนรับที่ดีจากบางฝ่าย ส่วนอีกฝ่ายก็กลับตั้งข้อสงสัยและมองว่ามันเป็นรอยด่างพร้อยของเกมฟุตบอลที่สวยงาม

เนื่องจากมันจะต้องเป็นที่พูดถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตัดสินใจย่อมมีผลกับทีมและเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น บางครั้งพวกเราจะรู้สึกถึงความอยุติธรรมในหมู่แฟนบอลที่บอกว่าการตัดสินนั้นเป็นการตัดสินที่ทำให้ทีมพวกเขาต้องเสียเปรียบ ในฐานะแฟนบอลพรีเมียร์ลีก เราได้เห็นสถานการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นมาแล้ว

พูดกันแบบง่าย ๆ วีเออาร์สามารถสร้างความแตกต่างให้กับผลลัพธ์ของเกมได้อย่างมาก และทั้ง 2 ทีมจะได้ 0,1 หรือ 3 แต้ม กลับบ้านไป การตัดสินครั้งใหญ่ที่ทั้งสองฝั่งของตารางเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับวีเออาร์แล้ว ผลลัพธ์อาจหมายถึงการตัดสินระหว่างการตกชั้นกับการรอดตกชั้นหรือตำแหน่งแชมป์ลีกหรือพื้นที่ในฟุตบอลยุโรปเลยล่ะ

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าการตัดสินของวีเออาร์จะส่งผลต่อชะตากรรมของตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนี้อย่างไรบ้าง

แต่ก่อนที่เราจะไปลุยในบทความนี้นั้น เรามาทบทวนประวัติศาสตร์ของวีเออาร์ในพรีเมียร์ลีกกันก่อนเลยดีกว่า

ต้นกำเนิดของวีเออาร์

ถ้าพูดกันจริง ๆ แนวคิดวีเออาร์ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดย KNVB ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องฟุตบอลของประเทศได้เริ่มทดลองใช้แนวคิดนี้ภายใต้ความคิดริเริ่ม “ผู้ตัดสิน 2.0” เมื่อต้นทศวรรษที่ผ่านมา

ในเดือนกันยายนของปีเดียวกันนั้น ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย KNVB ในเกมระหว่างอาแจ็กซ์พบกับวิลเล่ม ทู แต่กลับกลายเป็น A-League ซึ่งเป็นพรีเมียร์ลีกในออสเตรเลียเป็นลีกฟุตบอลแห่งแรกที่รวมเอาวีเออาร์เข้ามาไว้ในระบบของพวกเขาเป็นลีกแห่งแรก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทัวร์นาเมนต์บอลถ้วยของพวกเขาและต่อมาในลีกสูงสุดของพวกเขา หน่วยงานกำกับดูแลของฟุตบอลรายใหญ่ในประเทศทั้งหมด รวมถึงสหรัฐอเมริกา, โปรตุเกส, เยอรมนี, อิตาลีและสเปนต่างก็พากันเริ่มใช้เทคโนโลยีวีเออาร์

พรีเมียร์ลีกเริ่มเปิดตัวใช้งานวีเออาร์ตั้งแต่เมื่อไหร่?

ในเวลานั้น วีเออาร์ได้ถูกไปมาใช้ในลีกชั้นนำอื่น ๆ ทั่วยุโรปแล้ว ยกเว้นพรีเมียร์ลีก ซึ่งต้องมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดที่ชัดเจนจากเจ้าหน้าที่ในสนามสำหรับการใช้งานวีเออาร์ในลีกที่มีแฟนบอลคอยติดตามมากที่สุดในโลก

การปะทะกันของทีมท้ายตารางระหว่างเซาแธมป์ตันและวัตฟอร์ดจบลงด้วยผลเสมอกัน 1-1 เนื่องจากผู้ตัดสินอย่างไซม่อน ฮูเปอร์ตัดสินไม่ให้ประตูที่ชาร์ลี ออสตินยิงได้ในช่วงท้ายเกมหลังจากตัดสินให้มายะ โยชิดะเป็นฝ่ายล้ำหน้า ส่งผลให้ทีมนักบุญต้องตกลงไปสุ่มเสี่ยงอยู่ใกล้โซนตกชั้นอย่างน่าใจหาย

หลังจบเกม ชาร์ลี ออสตินที่ผิดหวังเป็นอย่างมากแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจที่เห็นว่าประตูของเขาถูกริบ ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดของกรรมการอย่างชัดเจน:

“เราทำประตูได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่กลับโดนริบประตูคืนเนื่องจากโดนจับล้ำหน้า ผู้ตัดสินขโมย 2 คะแนนของเราไปหน้าตาเฉย พวกเขาบอกว่ามันเป็นลูกล้ำหน้า น่าขำสิ้นดี”

“ผู้คนพูดถึงวีเออาร์ เห็นได้ชัดว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ หากนี่คือลีกที่ดีที่สุดและเป็นลีกที่มีแฟนบอลคอยดูมากที่สุดในโลกแล้วล่ะก็ งั้นก็เอาวีเออาร์เข้ามาช่วยพวกเขาได้แล้ว ไร้สาระสิ้นดีเลย”

หลังจากเหตุการณ์นั้น ทีมในพรีเมียร์ลีกทุกทีมก็ตัดสินใจใช้วีเออาร์นับตั้งแต่ฤดูกาล 2019–20

ผลโหวตเป็นเอกฉันท์ให้นำเอาวีเออาร์เข้ามาใช้ในพรีเมียร์ลีก

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2018 คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลนานาชาติ (IFAB) ตกลงอนุมัติให้มีการใช้วีเออาร์ได้

จากนั้นทีมในพรีเมียร์ลีกได้โหวตโดยคะแนนออกมาอย่างเป็นเอกฉันท์ในเดือนพฤศจิกายน 2018 ว่าการนำวีเออาร์ไปใช้นั้นจะเริ่มต้นขึ้นในฤดูกาล 2019–20 โดยขึ้นอยู่กับการทดสอบการใช้งาน

ในระหว่างฤดูกาล 2018–19 องค์กรที่ดูแลผู้ตัดสินในฟุตบอลลีกอาชีพในอังกฤษ (PGMOL) ซึ่งดูแลเกมพรีเมียร์ลีกได้ทำการทดสอบอย่างเข้มข้นในเกมถ่ายทอดสด ทางลีกยังเห็นการทำงานของวีเออาร์ในระหว่างเกมการแข่งขันรายการเอฟเอคัพและลีกคัพอีกด้วย

ความสำเร็จในการทดสอบสนับสนุนการใช้วีเออาร์นั้นเกิดขึ้นในฤดูกาล 2019-20

IFAB ส่งมอบการควบคุมวีเออาร์ให้กับทางฟีฟ่าในเดือนกรกฎาคม 2020

IFAB และฟีฟ่ายังคงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการวีเออาร์ที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานการใช้สิทธิ์

ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ช่วยผู้ตัดสินด้วยการใช้วิดีโอ?

ทุกสัปดาห์ก่อนเริ่มเกมการแข่งขันพรีเมียร์ลีก ทางองค์กรที่ดูแลผู้ตัดสินในฟุตบอลลีกอาชีพในอังกฤษ (PGMOL) นั้นจะประกาศการเลือกเป็นสมาชิกของทีมผู้ตัดสิน

สต็อคลีย์ ปาร์คจากลอนดอนตะวันตกเป็นที่ตั้งของศูนย์วีเออาร์ ซึ่งเขาเข้าร่วมโดยผู้ช่วยผู้ตัดสินวีเออาร์ (AVAR) และรีเพลย์ โอเปอเรเตอร์ (RO)

วีเออาร์จะตรวจสอบอะไรบ้าง?

วีเออาร์จะตรวจสอบว่ามีประตูเกิดขึ้นหรือไม่

พวกเขาจะตรวจสอบการฟาวล์ในกรอบเขตโทษ (และบางครั้งนอกกรอบเขตโทษ) เพื่อตัดสินใจในการให้จุดโทษ

วีเออาร์จะตรวจสอบใบแดงโดยตรง แต่ไม่ใช่ใบเหลืองใบที่สองหรือการเตือนตามปกติ

เหตุการณ์การระบุตัวผิดพลาดซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่หากผู้ตัดสินเตือนหรือไล่นักเตะออกจากสนามไปผิดตัว ทางวีเออาร์จะเข้ามาตรวจสอบในกรณีดังกล่าว

อะไรบ้างที่ทางวีเออาร์จะไม่ตรวจสอบ?

เหตุการณ์ใบเหลืองหรือใบเหลืองใบที่สองที่นำไปสู่ใบแดงจะไม่ถูกตรวจสอบโดยวีเออาร์

การทำฟาวล์จากฟรีคิกนอกกรอบเขตโทษ นอกเหนือจากการทำฟาวล์ใบแดงหรือการเป่าให้จุดโทษ ขึ้นอยู่กับความใกล้กับเขตโทษ

ข้อดีที่วีเออาร์นำเข้ามาสู่พรีเมียร์ลีก

ฤดูกาลที่วีเออาร์ได้เปิดตัวในพรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกนั้น มีการตรวจสอบโดยวีเออาร์ไปมากกว่า 2,400 เหตุการณ์และแก้ไขการตัดสินผิดพลาดที่เกิดจากผู้ตัดสินในสนามไปได้ 109 ครั้ง

และทำให้พรีเมียร์ลีกมีการปรับปรุงในเรื่องการตัดสินจังหวะสำคัญขึ้นเป็นอย่างมาก โดยอัตราการตัดสินได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก 82% ในฤดูกาลที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็น 94% ในฤดูกาลนี้

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากวีเออาร์ในพรีเมียร์ลีก

ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ วีเออาร์ก็ยังอยู่ในพาดหัวข่าวด้วยการตัดสินที่ผิดพลาดเช่นกัน วีเออาร์นั้นไม่ได้น่าเชื่อถือเสมอไปและบางครั้งก็ยังทำร้ายบางสโมสรในเกมพรีเมียร์ลีกนัดสำคัญอีกด้วย วีเออาร์นั้นมีเวลาและทรัพยากรเพียงพอที่จะประเมินปัญหาที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันที

ถึงแม้จะมีเวลาและเทคโนโลยีร่วมสมัยเข้ามาเคียงข้าง แต่วีเออาร์ก็ยังลงเอยด้วยการแสดงคำตัดสินที่ไม่ถูกต้องซึ่งส่งผลกระทบต่อสโมสรต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสโมสรชั้นนำในลีกสูงสุดของอังกฤษ

บางครั้ง การตรวจสอบด้วยวีเออาร์นั้นก็ใช้เวลามากเกินไปและทำให้เกมที่มีความเข้มข้นสูงหมดไป สิ่งนี้ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่แฟน ๆ ที่เข้าร่วมและสร้างบรรยากาศที่ไม่น่าดูชมออก

ในการค้นหาความถูกต้อง เส้นแบ่งสำหรับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินล้ำหน้าอย่างรัดกุมนั้นอาจจะทำให้แฟน ๆ ที่รับชมอยู่ที่บ้านรู้สึกรำคาญได้

วีเออาร์อาจมีมุมกล้องและโอกาสสำหรับผู้ตัดสินในสนามในการตัดสินและตัดสินแมตช์สำคัญที่ถูกต้องจากมุมมองที่แตกต่างกัน เบื้องหลังเทคโนโลยียังคงเป็นมนุษย์ ดังนั้นข้อผิดพลาดของมนุษย์จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป

วีเออาร์ไม่รับประกันว่าจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ 100% เนื่องจากผู้ตัดสินในสนามเป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาดในขั้นสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ จะยังคงมีเหตุการณ์การยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ผล, การยกธงล้ำหน้าอย่างไม่ถูกต้อง, การพลาดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฟาวล์หรือการตะลุมบอนกับบอลและอื่น ๆ

เหตุการณ์สุดฉาวของคำตัดสินของวีเออาร์ที่เกิดขึ้นในฤดูกาลที่แล้ว

ช่วงแขนของราฮีม สเตอร์ลิ่ง

ประตูของกาเบรียล เชซุสในฤดูกาล 2019–20 นั้นถูกริบคืนเนื่องจากช่วงแขนของราฮีม สเตอร์ลิ่งนั้นถูกจับมาล้ำหน้า

ทีมเรือใบสีฟ้าโดนวีเออาร์เล่นงานถึง 2 ครั้ง 2 ครา

ในเกมสุดสำคัญระหว่างลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ในปี 2020 วีเออาร์ปฏิเสธที่จะแจกจุดโทษให้กับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ถึงแม้ว่ารีเพลย์จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเทรนต์ อเล็กซานเดอร์ อาร์โนลด์จะแฮนด์บอลแบบเห็น ๆ ก็ตาม

จากนั้นอีกเพียงไม่กี่วินาทีถัดมา เรือใบสีฟ้ากลับเป็นฝ่ายเสียจุดโทษและลิเวอร์พูลก็สังหารไม่พลาด

เอริค ดายเออร์เสียจุดโทษ

ในเดือนกันยายน 2020 เกมที่ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดนั้นดูเหมือนจะเป็นเกมหมู ๆ สำหรับลูกทีมของโชเซ่ มูรินโญ่ แต่วีเออาร์กลับไม่ยอมให้มันเป็นแบบนั้น

แอนดี้ แคร์โรลล์เติมขึ้นไปหาโอกาสโหม่งจากลูกตั้งเตะ แต่สเปอร์ก็สามารถเคลียร์บอลทิ้งออกไปได้ในที่สุด

แต่ผู้ตัดสินกลับตัดสินย้อนหลังจากการตรวจสอบของวีเออาร์ที่ว่าบอลไปโดนแขนของเอริค ดายเออร์และทำให้นิวคาสเซิลได้จุดโทษ

ดูเหมือนว่าบอลจะมีการสัมผัสกับแขนของดายเออร์จริงในจังหวะนั้น ถึงแม้ว่ากองหลังทีมชาติอังกฤษจะหันหลังให้กับบอลและเพียงแค่กางแขนของเขาออกเพื่อพยายามเบียดแคร์โรลล์ก็ตาม ซึ่งมันไม่ได้มีผลกับวิถีของบอลเลยและแน่นอนว่าไม่ใช่การตั้งใจใช้แขนเล่นบอลอย่างแน่นอน

แต่ผู้ตัดสินอย่างปีเตอร์ แบงค์สก็ยังคงยืนยันที่จะให้จุดโทษ ทำให้คัลลั่ม วิลสันยิงประตูตีเสมอได้ในที่สุดและ ทำให้ท็อตแน่มต้องทำแต้มหล่นไป 2 คะแนน

เหตุการณ์สุดฉาวของคำตัดสินของวีเออาร์ที่เกิดขึ้นในฤดูกาล 2022/23

พวกเราพึ่งผ่านมาครึ่งทางของฤดูกาลนี้แล้ว แต่มันก็ยังคงมีเหตุการณ์สุดฉาวและข้อผิดพลาดที่น่าเกลียดเกิดขึ้นในฤดูกาลนี้อยู่ดี

จาร์ร็อด โบเว่นในเกมที่พบกับเชลซี

เวสต์แฮม ยูไนเต็ดพลาดโอกาสตีเสมอเชลซีในนาทีที่ 90 ในเกมเมื่อช่วงต้นฤดูกาล 2022/23 ในเหตุการณ์ที่จาร์ร็อด โบเว่นโดนเอดูอาร์โด้ เมนดี้ทำฟาวล์ใส่

ในขณะที่ทีมขุนค้อนไม่สามารถเก็บ 1 คะแนนออกมาได้ เดวิด มอยส์ก็หัวร้อนและระเบิดอารมณ์ใส่ผู้ตัดสิน

คริสเตียน โรเมโร่ในเกมที่พบกับเชลซี

วีเออาร์ระบุว่าคริสเตียน โรเมโร่ กองหลังของสเปอร์ไปกระชากผมของมาร์ค คูคูเรญ่าในจังหวะปั้นเกมก่อนที่ทีมจะตีเสมอได้นั้นไม่สมควรเป็นการฟาวล์ ถือเป็นการพลิกเกมที่น่าเซอร์ไพรส์อีกครั้งในฤดูกาลนี้

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่เชลซีเสียไป 2 คะแนนและทาง PGMOL ยอมรับว่าเป็น “ข้อผิดพลาด” ซึ่งทำให้แฟนบอลทั่วโลกเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น “การทุจริต”

อ่าน:  คาเซมิโร่จะเข้ามาช่วยเสริมแกร่งแดนกลางของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้อย่างไร?

ดั๊กลาส ลุยซ์โดนใบแดงแบบไม่ได้ทำอะไรผิด

ดั๊กลาส ลุยซ์โดนใบแดงโดยตรงในเกมสุดท้ายของสตีเว่น เจอร์ราร์ดที่คุมวิลล่าหลังจากไปทะเลาะกับอเล็กซานเดอร์ มิโตรวิชในเรื่องที่แย่งบอลกัน

ก่อนที่จะตีตัวออกจากกองกลางของวิลล่า กองหน้าฟูแล่มล้มลงกับพื้นโดยกุมมือไปที่ใบหน้าของเขาไว้ และผู้ตัดสินถูกเรียกไปที่จอมอนิเตอร์ของวีเออาร์ที่ข้างสนาม

ภาพรีเพลย์แสดงให้เห็นว่ามิโตรวิชนั้นเป็นฝ่ายเริ่มมีปากเสียงก่อนและคณะกรรมการอิสระ (PGMOL) ตัดสินว่านี่เป็นคำตัดสินที่ผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง

คำตัดสินการแจกจุดโทษที่ผิดพลาดทำให้ฟอเรสต์ต้องพลาด 3 คะแนน

ก่อนพักเบรคฟุตบอลโลก จุดโทษที่เกิดขึ้นในเกมที่ซิตี้ กราวด์จากการทำฟาวล์โดยดีน เฮนเดอร์สันใส่โยอาเน่ วิสซ่านั้นทำให้เกิดข้อโต้แย้งกันขึ้นมา

ขาของกองหน้าเบรนท์ฟอร์ดมีการสัมผัสกับแขนของเฮนเดอร์สันเล็กน้อยในขณะที่เขาพยายามจะเข้าไปแย่งบอลจากผู้รักษาประตูของฟอเรสต์

ผู้ตัดสินชี้ไปที่จุดโทษหลังจากตรวจสอบเหตุการณ์ในสนามแล้ว แต่ภาพรีเพลย์กลับบอกว่าเป็นวิสซ่าต่างหากที่เป็นฝ่ายเอาขาไปสัมผัสแขนของดีน เฮนเดอร์สันก่อน

วีเออาร์จะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการลุ้นแชมป์พรีเมียร์ลีกหรือไม่?

แน่นอนเลยล่ะ จริง ๆ แล้วมันก็กำลังส่งผลกระทบอยู่แล้วนะ อาร์เซนอล จ่าฝูงของพรีเมียร์ลีกนั้นคือหนึ่งในทีมที่ได้รับการขนานนามว่าได้รับคำตัดสินจากวีเออาร์อย่างไม่เป็นธรรมบ่อยพอสมควร

อาร์เซนอลทำแต้มหล่นในเกมกับเบรนท์ฟอร์ดหลังจากการเช็คล้ำหน้าพลาด

เกมที่เอมิเรต สเตเดี้ยม ประตูตีเสมอของโทนี่ย์นั้นได้สะเทือนเส้นทางการลุ้นแชมป์ของอาร์เซนอลที่กำลังไล่ล่าแชมป์ ในขณะที่ลี เมสัน ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ดูวีเออาร์กลับมองข้ามตำแหน่งของคริสเตียน นอร์การ์ดพร้อมกับตัดสินให้ประตูไปทั้ง ๆ ที่มีเหตุการณ์ล้ำหน้าเกิดขึ้น

เนื่องจากอีธาน พินน็อคอยู่ในตำแหน่งไม่ล้ำหน้าในตอนที่เมสันกำลังไล่ตรวจสอบจังหวะในการสร้างเกมก่อนที่จะได้ประตู เบรนท์ฟอร์ดจึงออกจากสนามกลับบ้านไปพร้อมกับ 1 คะแนนและเดอะกันเนอร์สก็ต้องยอมรับผลเสมอให้ได้

ผลการแข่งขันนี้หมายความว่าแมนเชสเตอร์ ซิตี้มีสิทธิ์ที่จะลดช่องว่างจากอาร์เซนอลลงในการไล่ล่าแชมป์ให้เหลือแค่ 3 คะแนนก่อนที่จะต้องโคจรมาเจอกันเองในวันพุธ

ประตูของมาร์ติเนลลี่โดนริบคืนที่โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด

ย้อนกลับไปในเดือนกันยายน เมื่อประตูแรกของเกมของกาเบรียล มาร์ติเนลลี่ถูกริบคืนนั้น ทำให้เดอะกันเนอร์สต้องพบกับความพ่ายแพ้เป็นเกมแรกของฤดูกาล

มาร์ติน โอเดการ์ดทำฟาวล์ใส่คริสเตียน อีริคเซ่นในระหว่างการตั้งเกม จากนั้นผู้ตัดสินตัดสินใจปรึกษากับวีเออาร์ที่ข้างสนามและปฏิเสธที่จะให้เป็นประตู

คณะกรรมการอาจถือว่าความผิดพลาดนี้เป็นเรื่องที่น่าจับตามองมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของฤดูกาลเลยทีเดียว

แอสตัน วิลล่ายิงประตูได้จากฟรีคิกโดยที่กำแพงตั้งห่างออกไปเกิน 10 หลา

ในเกมที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดพ่ายให้กับแอสตัน วิลล่าด้วยสกอร์ 3-1 เกมนั้นปิศาจแดงเป็นฝ่ายตามหลังถึง 2 ประตูตั้งแต่ต้นเกมหลังจากที่ลูคัส ดีญพังประตูจากลูกฟรีคิกให้วิลล่าออกนำไปก่อน

คริสเตียน อีริคเซ่นแจ้งกับแอนโทนี่ เทย์เลอร์ว่ากำแพงของปิศาจแดงนั้นอยู่ไกลเกินกว่า 10 หลาจากบอล ทำให้ทีมเสียเปรียบ แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ได้สนใจอะไรเลย หลังจากที่ปิศาจแดงพ่ายในเกมนั้น เหล่าผู้บริหารของสโมสรก็ได้พูดคุยกับทาง PGMOL และแน่นอนว่ามันคือความผิดพลาดของผู้ตัดสินอย่างแอนโทนี่ เทย์เลอร์

มาดูสถิติของ 3 ทีมหัวตารางในพรีเมียร์ลีกกันบ้างดีกว่า

ในส่วนนี้พวกเราจะมากางดูสถิติได้เปรียบเสียเปรียบจากวีเออาร์ของ 3 ทีมหัวตารางในพรีเมียร์ลีกที่กำลังขับเคี่ยวแย่งแชมป์กันอย่างดุเดือด

อาร์เซนอล

VAR กลับคำตัดสิน: 7

VAR นำไปสู่การได้ประตู: 0

ถูก VAR ริบประตูคืน: 2

VAR นำไปสู่การเสียประตู: 0

คู่แข่งถูก VAR ริบประตู: 1

ผลรวมประตูที่ทำได้จากการมี VAR: -1

จังหวะได้ประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 2

จังหวะเสียประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 3

ประตูสุทธิที่ได้: -1

ได้จุดโทษ / เสียจุดโทษ: 0 / 1

ได้ใบแดง / คู่แข่งได้ใบแดง: 0 / 0

เกม: เลสเตอร์ (เหย้า 13 สิงหาคม)

เหตุการณ์: ยกเลิกจุดโทษหลังจากที่มีคำตัดสินว่าอารอน แรมส์เดลไม่ได้ฟาวล์ใส่เจมี่ วาร์ดี้ในนาทีที่ 43 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

เกม: บอร์นมัธ (เยือน 20 สิงหาคม)

เหตุการณ์: ประตูของกาเบรียล เชซุสถูกริบจากการล้ำหน้าในนาทีที่ 72 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เกม: แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (เยือน 4 กันยายน)

เหตุการณ์: ประตูของกาเบรียล มาร์ติเนลลี่ถูกริบคืนจากการฟาวล์ในการตั้งเกมจากที่มาร์ติน โอเดการ์ดไปฟาวล์ใส่คริสเตียน อีริคเซ่นในนาทีที่ 12 ของเกมการแข่งขัน  – เสียประโยชน์

เกม: ลีดส์ (เยือน 16 ตุลาคม)

เหตุการณ์: เสียจุดโทษ (แพทริค แบมฟอร์ดสังหารพลาด) จากการแฮนด์บอลของวิลเลี่ยม ซาลิบาในนาทีที่  60 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เหตุการณ์: โดนริบจุดโทษและยกเลิกใบแดงของกาเบรียลลดลงเหลือเพียงใบเหลือง ไม่มีการฟาวล์ใส่แบมฟอร์ดในนาทีที่ 90 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

เกม: เวสต์แฮม (เหย้า 26 ธันวาคม)

เหตุการณ์: โดนริบจุดโทษ ไม่มีการแฮนด์บอลจากอารอน เครสเวลล์ในนาทีที่ 45 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เกม: ไบรท์ตัน (เยือน 31 ธันวาคม)

เหตุการณ์: ประตูของคาโอรุ มิโตมะถูกริบเนื่องจากล้ำหน้าในนาทีที่ 89 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

แมนเชสเตอร์ ซิตี้

VAR กลับคำตัดสิน: 5

VAR นำไปสู่การได้ประตู: 1

ถูก VAR ริบประตูคืน: 2

VAR นำไปสู่การเสียประตู: 1

คู่แข่งถูก VAR ริบประตู: 0

ผลรวมประตูที่ทำได้จากการมี VAR: -2

จังหวะได้ประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 1

จังหวะเสียประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 2

ประตูสุทธิที่ได้: -1

ได้จุดโทษ / เสียจุดโทษ: 1 / 0

ได้ใบแดง / คู่แข่งได้ใบแดง: 0 / 0

เกม: นิวคาสเซิล (เยือน 21 สิงหาคม)

เหตุการณ์: ประตูของมิเกล อัลมิร่อนไม่ถูกริบคืนหลังจากที่โดนริบคืนไปแล้วเนื่องจากล้ำหน้าในนาทีที่ 28 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เหตุการณ์: ใบแดงของคีแรน ทริปเปียร์สำหรับการเข้าสกัดเควิน เดอ บรอยน์นั้นถูกลดลงเหลือเพียงใบเหลืองในนาทีที่ 73 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เกม: ลิเวอร์พูล (เยือน 16 ตุลาคม)

เหตุการณ์: ประตูของฟิล โฟเด้นถูกริบคืนเนื่องจากการฟาวล์ของเออร์ลิ่ง ฮาลันด์ที่ทำฟาวล์ใส่ฟาบินโญ่ในนาทีที่ 53 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

อ่าน:  ไม่ได้มูดริกก็ไม่เป็นไร: อาร์เซนอลยังคงอาวุธครบมือในแนวรุก

เกม: ไบรท์ตัน (เหย้า 22 ตุลาคม)

เหตุการณ์: ได้จุดโทษ (สังหารโดยเออร์ลิ่ง ฮาลันด์) จากการที่ลูอิส ดังก์ไปทำฟาวล์ใส่แบร์นาโด้ ซิลวาในนาทีที่ 39 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

เกม: ฟูแล่ม (เหย้า 5 พฤศจิกายน)

เหตุการณ์: ประตูของเออร์ลิ่ง ฮาลันด์ถูกริบเนื่องจากล้ำหน้าในนาทีที่ 74 – เสียประโยชน์

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

VAR กลับคำตัดสิน: 6

VAR นำไปสู่การได้ประตู: 1

ถูก VAR ริบประตูคืน: 2

VAR นำไปสู่การเสียประตู: 0

คู่แข่งถูก VAR ริบประตู: 2

ผลรวมประตูที่ทำได้จากการมี VAR: +1

จังหวะได้ประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 2

จังหวะเสียประโยชน์จากกการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของกรรมการ: 1

ประตูสุทธิที่ได้: +1

ได้จุดโทษ / เสียจุดโทษ: 1 / 0

ได้ใบแดง / คู่แข่งได้ใบแดง: 1 / 0

เกม: อาร์เซนอล (เหย้า 4 กันยายน)

เหตุการณ์: ประตูของกาเบรียล มาร์ติเนลลี่ถูกริบจากการฟาวล์ของมาร์ติน โอเดการ์ดที่ทำฟาวล์คริสเตียน อีริคเซ่นในนาทีที่ 12 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

เกม: เอฟเวอร์ตัน (เยือน 9 ตุลาคม)

เหตุการณ์:  ประตูของมาร์คัส แรชฟอร์ดถูกริบจากจังหวะแฮนด์บอลในนาทีที่ 80 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เกม: น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ (เหย้า 27 ธันวาคม)

เหตุการณ์: ประตูของวิลลี่ โบลี่ถูกริบจากลูกล้ำหน้าในนาทีที่  40 ของเกมการแข่งขัน – ได้ประโยชน์

เกม: วูล์ฟ (เยือน 31 ธันวาคม)

เหตุการณ์: ประตูของมาร์คัส แรชฟอร์ดถูกริบจากจังหวะแฮนด์บอลในนาทีที่ 84 ของเกมการแข่งขัน – เสียประโยชน์

เกม: คริสตัล พาเลซ (เหย้า 4 กุมภาพันธ์)

เหตุการณ์: ได้จุดโทษ (สังหารโดยบรูโน่ แฟร์นันเดส) จากลูกแฮนด์บอลของวิล ฮิวจ์ในนาทีที่ 4 ของเกม – ได้ประโยชน์

เหตุการณ์: คาเซมิโร่โดนใบแดงไล่ออกจากสนามจากการที่ไปบีบคอใส่วิล ฮิวจ์ในนาทีที่ 70 ของเกม – เสียประโยชน์

Leave A Reply